ช่วงฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้ มีพายุพัดพาเข้ามาที่ไทย จนทำให้เกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมในหลายจังหวัดอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว จนอาจทำให้ รถยนต์ ของท่าน อาจถูกน้ำท่วมจมรถได้ ซึ่งหากปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายลง ผู้ใช้รถ ต้องมีวิธีจัดการกับรถยนต์ของตนเอง เรามีคำแนะนำมาฝากกัน ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ล้างรถภายนอก เพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ติดกับรถ รวมถึงการฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถและซุ้มล้อ เพื่อล้างเศษดินทรายที่ตกค้าง หรือติดอยู่ออกให้หมด ชึ่งอาจมีเศษขยะ หรือหญ้าแห้งติดอยู่ ที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย เช่นเดียวกับ กรณีของรถที่ติดตั้ง ตัวกรองไอเสีย หรือ CAT ที่ไม่แนะนำให้จอดในที่ที่มีหญ้าขึ้นสูง เนื่องจาก อุณหภูมิของ Catalytic Converter ค่อนข้างสูง และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้
2. เมื่อจัดการกับสภาพรถยนต์ภายนอกเรียบร้อย ให้เปิดรถเช็คด้านใน โดยให้เปิดประตูรถ ออกทุกบาน ให้ลมโกรก หรือถ้ามีแดดให้จอดตากแดด จากนั้น ถอดเบาะนั่ง พรม ผ้าต่างๆ ที่อยู่ภายในรถออกมาชักทันที เพราะ ถ้าทิ้งเอาไว้นาน ความเหม็นอับ จะมาเยือน และเป็นแหล่งสะสมของ เชื้อรา และเชื้อโรคต่างๆ
3. การจัดการกับ สภาพรถยนต์ภายใน เจ้าของรถ ห้ามทำการสตาร์ทรถ หรือบิดกุญแจให้ไฟออนโดยเด็ดขาด โดนควร เปิดฝากระโปรงรถ และปลดขั้วแบตเตอรี่ทันที โดยจะปลดขั้วใดขั้วหนึ่ง หรือจะปลดทั้งขั้วบวกขั้วลบก็ได้เสียก่อน
4. เริ่มเข้าสู่กระบวนการทางเทคนิคที่พอจะทำได้ด้วยตัวเอง คือ ปลดทุกอย่างที่เป็นขั้วไฟฟ้าในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียน ไล่น้ำออกให้หมด ทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่าง ๆ รวมทั้ง กล่องอีชียู ต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลักไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้ด้วย
5. สำรวจ น้ำมันเกียร์ (ในฝากระโปรงรถ) ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ คือ ถ้ามีลักษณะคล้ายสีชาเย็น นั่น แสดงว่ามีน้ำเข้าไปปะปนแล้ว ต้องรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทันที เช่นเดียวกับน้ำมันเกียร์ รวมถึงเปลี่ยนกรองอากาศ ซึ่งการเปลี่ยนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง และควรรีบทำในทันที เพราะหากจัดการได้เร็ว โอกาสที่จะเกิดสนิมก็จะน้อยตามไปด้วย แต่หากมีความผิดปกติมาก ก็ต้องเข้าศูนย์บริการ หรืออู่ เพื่อทำการเปลี่ยนถ่ายอย่างถูกต้อง และมีความละเอียดมาก
6. เพลาขับ หากยางหุ้มเพลาขาดน้ำจะเข้าไปนำเอาจาระบีออกไป ต้องอัดจาระบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วยอีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือ ลูกปืนล้อทั้งหน้า และหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไปต้องนำออกมาล้างอัดจาระบีใหม่ แล้วใส่กลับคืนที่ด้วย การปรับใหม่ให้แน่น ตามลำดับ ไม่แน่นเกินไป จนล้อหมุนผิด
7. ในกรณีที่ เป็นเครื่องเบนซินให้ ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้หมดทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆ รวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลักไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้
8. ในส่วนของ โคมไฟหน้าเลนส์ ไฟท้าย เบาะนั่ง และพรมปูพื้น ที่ถอดออกมาตาก หากแห้งแล้ว ไม่ต้องรีบใส่ ให้เคาะรถออก ตากแดดเปิดประตูรถทุกบาน พยายามให้แผงหน้าปัดรถตากแดดแรงๆ เพื่อไล่ความชื้นออกจากแผงหน้าปัดให้หมด เมื่อแน่ใจว่า ทุกอย่างแห้งสนิทดีแล้ว จึงจะใส่กลับที่เดิมได้
9. หัวเทียน ในกรณีของรถเครื่องยนต์เบนชิน หรือหัวฉีดในกรณีเครื่องดีเซล หากแห้งแล้ว ยังไม่ต้องนำมาใส่ ให้ยกแบตเตอรี่ เข้าที่ก่อนโดยใส่ขั้วแบตเตอรี่เสียบกุญแจบิดกุญแจไปจังหวะแรก (จังหวะสำหรับตรวจมาตรวัดต่าง ๆ ก่อนสตาร์ทรถ) หากเกจ์วัดไหน ยังไม่ทำงานอย่าเพิ่งกังวล ให้เปิดสวิตช์ค้างไว้ แล้วลงมาตรวจสอบที่ห้องเครื่องยนต์ว่า มีควันหรือความร้อนอะไรเกิดขึ้นจาก การใช้ไฟจากแบตเตอรี่หรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าไม่มีทุกอย่างปกติดีจึงค่อยบิดกุญแจปิดสวิตช์
10. ตรวจสอบเบ้าหัวเทียนอีกครั้ง ว่ามีอะไรติดขัดหลงเหลืออยู่อีกหรือไม่ หากดูแล้วว่าเรียบร้อยดี ให้ลองสตาร์ทเครื่องใหม่ โดยคนหนึ่งบิดกุญแจส่วนอีกคนหนึ่งคอยเช็กที่รูหัวเทียน เมื่อเครื่องหมุน หากถ้ามีน้ำ น้ำจะถูกพ่นออกมา ทางรูหัวเทียนให้สตาร์ทต่อไป จนแน่ใจว่าน้ำถูกพ่นออกมา จนหมด ต่อไปก็ให้ใส่หัวเทียนเข้าที่ หากทำมาถูกต้อง และไม่มีอุปกรณ์อื่น ที่เสียหายรุนแรง เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ หากว่าได้ยินเสียงเครื่องยนต์ทำงานดังกระหึ่มขึ้นตามมา แสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติ
การจัดการรถตามขั้นตอนแหล่านี้ ผู้ใช้รถ สามารถจัดการได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ หลังจากจัดการรถยนต์ตามขั้นตอนเหล่านี้แล้ว ผู้ใช้รถ ควรนำรถไปเข้า ตรวจที่ศูนย์บริการ หรืออู่อีกครั้ง เพื่อเช็คตัวรถและ อุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถยนต์ ให้ครบถ้วนที่สุด เพื่อสร้างความมั่นใจ และความปลอดภัยในการใช้รถได้
อ่านบทความเพิ่มเติม