เป็นปัญหาคาใจ สำหรับผู้ใช้ รถยนต์ หลายคน โดยเฉพาะ ผู้ขับขี่มือใหม่ ที่ไม่รู้ว่าการใช้ สัญญาณ ไฟฉุกเฉิน หรือ ไฟผ่าหมาก นั้นควรเลิกเปิดใช้งาน เมื่อใด และในสถานการณ์ให้ถูกต้อง และไม่ผิดกฎหมาย วันนี้เรามีคำแนะนำ ในเรื่องนี้ มาฝากกันครับ
ไฟฉุกเฉิน คืออะไร?
ไฟฉุกเฉิน ( Hazard Lights ) ระบบไฟภายในรถยนต์อย่างหนึ่ง ที่ปุ่มกดอยู่บริเวณ คอนโซลรถ ใกล้กับ ช่องแอร์รถยนต์ ส่วนหน้า โดยปุ่มกด เป็นรูปสัญลักษณ์ สามเหลี่ยมสีแดง ซ้อนกัน เมื่อกดปุ่มนี้แล้ว ไฟเลี้ยงทั้งด้านหน้า และด้านหลัง รถของเราทั้ง 4 ด้าน ก็จะกะพริบพร้อม ๆ กัน โดยไฟฉุกเฉิน หลายคนอาจเรียกว่า “ไฟผ่าหมาก”
ควรเปิดใช้งาน ไฟฉุกเฉิน กรณีใดบ้าง?
ในการเปิดใช้ “ไฟฉุกเฉิน” แน่นอนว่า จะต้องเปิดใช้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ “ฉุกเฉิน” แต่คำว่า ฉุกเฉิน ของผู้ขับขี่แต่ละคน อาจจะตีความแตกต่างกันไปได้ จึงทำให้หลายคน อาจใช้งาน ไฟฉุกเฉิน ผิดหลักไปได้ ซึ่งการใช้ ไฟฉุกเฉิน ตามกฎหมาย สามารถใช้ได้เฉพาะ ในกรณี ดังต่อไปนี้
เมื่อรถจอดเสียอยู่กับที่
กรณีรถจอดเสียอยู่กับที่ไม่สามารถขยับไปไหนได้ หรือประสบอุบัติเหตุรถชนอยู่ระหว่างการรอบริษัทประกันภัย ควรเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่นมองเห็นแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนได้
เมื่อต้องเบรกกะทันหัน
กรณีขับขี่มาด้วยความเร็วสูงแล้วพบว่าข้างหน้ามีสิ่งกีดขวางหรืออุบัติเหตุ จำเป็นต้องลดความเร็วลงอย่างรวดเร็ว ควรเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ขับขี่ที่อยู่ด้านหลังใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และเมื่อรถคันหลังชะลอความเร็วลงจนปลอดภัยแล้ว ควรปิดไฟฉุกเฉินทันที
นอกเหนือจากสถานการณ์ทั้งสองที่กล่าวมาข้างต้นนี้ การเปิดไฟฉุกเฉินอาจเป็นอันตรายต่อผู้ร่วมทางได้ เช่น ขณะขับผ่านทางแยก เพราะรถที่วิ่งมาทางด้านข้างจะเห็นไฟกระพริบเพียงฝั่งใดฝั่งหนึ่งเท่านั้น ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าคุณกำลังจะเลี้ยวรถ จนอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ หรือกรณีขับรถ ขณะฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัด การเปิดไฟหน้า หรือไฟตัดหมอกร่วมด้วยก็เพียงพอแล้ว เพราะสัญญาณ ไฟฉุกเฉิน อาจทำให้สายตาของผู้ร่วมทางพร่ามัว เป็นที่น่ารำคาญได้
อย่าลืมว่าการเปิดใช่ไฟฉุกเฉินอย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ ไม่ใช่บั่นทอนความปลอดภัยให้ลดลงครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม