คนที่ใช้ รถยนต์ ต้องมีการ ดูแลรักษา รถยนต์ อยู่เสมอ เพราะเป็นสิ่ง ที่ไม่ควรละเลย และ หนึ่งในเรื่อง ที่ควรตรวจสอบ อยู่ประจำ ก็คือ การเปลี่ยนถ่าย น้ำมันเครื่อง อย่างถูกต้อง ตามระยะเวลา ที่เหมาะสม กับ การใช้งานของ รถยนต์ นั่นเอง
น้ำมันเครื่อง เป็นของเหลว ที่อยู่ใน เครื่องยนต์ ที่มีหน้าที่ ช่วยใน การหล่อลื่น ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน เพื่อไม่ให้ ชิ้นส่วน เกิดการ เสียดสี หรือ สัมผัส กันโดยตรง นอกจากนี้ ยังช่วย ลดความร้อน ที่เกิดขึ้น และ ป้องกัน การเกิดสนิม ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น หากไม่ได้ มีการ ดูแลรักษา อย่างถูกวิธี อาจจะส่งผล ให้เกิด ความเสียหาย ร้ายแรงได้
วิธีสังเกต การเปลี่ยน น้ำมันเครื่อง ให้รถยนต์
1) เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ตามระยะทาง
ให้สังเกต ป้ายน้ำมันเครื่อง ที่แขวนอยู่ ตรงข้าง พวงมาลัยรถยนต์ จะมีแจ้ง ระยะทาง ที่ควรเปลี่ยน เอาไว้ เราสามารถ ดูเลขไมล์รถยนต์ เทียบกับ ตัวเลข ในแผ่นป้ายได้ หากระยะทาง ถึงกำหนด ต้องเปลี่ยน ก็ถึงเวลา ที่ต้องเปลี่ยน น้ำมันเครื่อง
โดยปกติ คนส่วนใหญ่ มักเปลี่ยน น้ำมันเครื่อง ทุก ๆ 8,000 – 10,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ คุณภาพ ของน้ำมันเครื่อง ที่ใช้ด้วย ซึ่งถ้าน้ำมันเครื่อง เกรดดี ๆ สามารถ วิ่งได้ถึง 15,000 กิโลเมตร และ ขึ้นอยู่กับ การใช้งาน ของรถยนต์ด้วย ถ้าใช้รถยนต์บ่อย ๆ ควรเปลี่ยน ตั้งแต่ 5,000 กิโลเมตร
สรุประยะทาง ที่ควรเปลี่ยนถ่าย ตามข้อมูลของ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
- น้ำมันเครื่องธรรมดา ( ปิโตรเลียม ) ควรเปลี่ยน ที่ระยะทาง 7,000 - 7,500 กิโลเมตร
- น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ควรเปลี่ยน ที่ระยะทาง 10,000 - 15,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ ควรเปลี่ยน ที่ระยะทาง 15,000 - 20,000 กิโลเมตร
2) เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ตามระยะเวลา
รถยนต์ ที่ไม่ได้ ออกเดินทางบ่อย ๆ กว่าตัวเลขไมล์ จะวิ่งไปถึง หมื่นกิโลเมตร ก็ใช้เวลานาน แต่ก็ไม่ใช่ว่า ต้องรอ ให้ถึงระยะทาง ที่กำหนด แล้วค่อยเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม ควรเปลี่ยนทุก 6 เดือน สำหรับ รถยนต์ ที่มีการ ใช้งานน้อย ไมล์ไม่ถึง ไม่เป็นไร ให้ดูตาม ระยะเวลาแทน
- น้ำมันเครื่องธรรมดา ( ปิโตรเลียม ) ควรเปลี่ยนทุก 6 เดือน
- น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ควรเปลี่ยนทุก 6 - 9 เดือน
- น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ ควรเปลี่ยนทุก 1 ปี
เหตุผล ที่ต้องเปลี่ยน น้ำมันเครื่อง แม้ไม่ค่อย ได้ใช้รถยนต์ ก็เพราะว่า น้ำมันเครื่อง จะมีการ เสื่อมประสิทธิภาพลง ตามระยะเวลา และ การที่ต้อง อยู่ใน สภาพแวดล้อม ของเครื่องยนต์ ที่ไม่ได้สตาร์ท มาเป็นเวลานาน อาจเกิด ความชื้นขึ้น ภายใน เครื่องยนต์ ซึ่งอาจก่อ ให้เกิดสนิม หรือ คราบเขม่า ตามมาได้
ในบางกรณี ก็ไม่จำเป็น ต้องรอจนครบ ระยะทาง หรือ ระยะเวลา ที่กำหนดก็ได้ หากเราตรวจเช็ครถ ในเบื้องต้นแล้วพบว่า น้ำมันเครื่อง มีปริมาณที่ลดลง หรือ น้ำมันเครื่อง มีสีดำ มากกว่าปกติ ก็สามารถเปลี่ยนได้เลย
อ่านบทความเพิ่มเติม