ทุก ๆ การเดินทางนั้น จำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องตรวจเช็ค สภาพของรถยนต์ บทความนี้ จะพามาดู เช็คลิสต์จุดสำคัญ ของ รถยนต์ ก่อนเดินทางไกล เพื่อความปลอดภัยของทุก ๆ คน
สิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมากมาย ก่อนการเดินทางก็คือ เจ้าของรถทุก ๆ คน ควร ตรวจเช็คสภาพรถ ก่อนเดินทางไกล เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม และไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน จนส่งผลร้ายต่อการเดินทางได้ ซึ่งการตรวจเช็กสภาพรถ ก่อนการเดินทางไกล จำเป็นต้องไปที่ ศูนย์ตรวจสภาพรถยนต์ หรือว่า ศูนย์เช็กสภาพรถ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ว่าแท้จริงแล้ว เจ้าของรถเอง ก็สามารถเช็กสภาพรถของตนเอง อย่างเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ในจุดสำคัญ ที่เราควรจะต้องดูแล เรื่องของความเรียบร้อย ก่อนจะเดินทางไกลดังต่อไปนี้
1. ตรวจเช็คสภาพรถ แบตเตอรี่
เพราะว่า แบตเตอรี่รถยนต์ คือ หัวใจหลักเลย ของการสตาร์ทรถยนต์ นั่นเพราะ เป็นตัวทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้า ไปให้กับระบบเครื่องยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการพลังงานไฟฟ้า ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการตรวจเช็กแบตเตอรี่รถยนต์ ก็คือ จุดเชื่อมต่อแบตเตอรี่ เพราะว่า หากการเชื่อมต่อ ของแบตเตอรี่ไม่ดี ก็ส่งผลให้ระบบการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ตลอดจนถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในรถยนต์ ก็ทำงานได้ไม่ราบรื่นไปตามด้วย เราเองสามารถดูแลจุดเชื่อมต่อแบตเตอรี่ได้ง่าย ๆ โดยทำความสะอาด ที่ขั้วแบตเตอรี่ ด้วยการเช็ดสิ่งสกปรกออก อย่างคราบขี้เกลือสีขาวบนขั้วแบตเตอรี่ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
วิธีทำความสะอาด ขั้วแบตเตอรี่
● ใช้แปรงลวดขัดจนไป กว่าคราบกัดกร่อนจะหลุดไป
● ถอดขั้วแบตเตอรี่ออก โดยเริ่มที่สายไฟขั้วลบก่อน
● ทำความสะอาดทั้งขั้วต่อ และขั้วแบตเตอรี่ ด้วยการใช้น้ำยาทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่โดยเฉพาะ
● ใช้ผ้าชุบน้ำหมวาด ๆ เช็ดคราบต่าง ๆ ออกให้สะอาด
● ใช้ผ้าแห้งเช็ดขั้วต่อ และขั้วแบตเตอรี่ให้แห้งสนิท
● ประกอบกลับตามเดิม และขันขั้วต่อแบตเตอรี่ให้แน่น ๆ
นอกจากนั้น เราควรตรวจสอบสภาพ ตัวก้อนแบตเตอรี่ ว่า ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่ พร้อมทั้งเช็คที่ระดับน้ำกลั่น ให้อยู่ในระดับที่กำหนด รวมถึงดูความแน่นของขั้วแบตเตอรี่ และฉนวนหุ้มสายที่ต่อเข้ากับวงจรอีกด้วย
2. ตรวจเช็คสภาพรถ ระบบช่วงล่างรถยนต์
ระบบช่วงล่าง ซึ่งเป็นศูนย์ถ่วง ของการขับขี่รถยนต์ ถึงแม้จะค่อนข้างยากสักนิด แต่ว่า เจ้าของรถก็สามารถตรวจสอบระบบช่วงล่างด้วยตนเองได้ง่าย ๆ ด้วยการตรวจเช็กคราบน้ำมัน ที่บริเวณแกนโช้คว่า รั่วหรือไม่ พร้อมทั้งการเติมน้ำมันเกียร์ และน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ ให้ได้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หลังจากนั้น ให้คุณลองขับบนถนนเรียบทางตรง และให้สังเกตพวงมาลัยว่าตรงไหม มีเสียงแปลกปลอม หรือว่า ความผิดปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติข้อใดข้อหนึ่ง ก็ควรนำไปแก้ไขตามจุดสังเกตได้ดังนี้
วิธีตรวจสอบระบบช่วงล่างรถยนต์
● หากระหว่างออกตัวหรือว่ากำลังหยุดรถทั้งเดินหน้าและถอยหลัง จะมีเสียงดังกึกแบบเบาๆ หรือขับขี่ในทางตรงแล้ว พวงมาลัยจะมีอาการเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แสดงว่า บูชปีกนก นั้นอาจะจะมีปัญหา จำเป็นต้องนำรถไปตั้งศูนย์ถ่วงล้อใหม่
● หากมีเสียงดังขณะขับขี่ ไปบนถนนขรุขระหรือตามลูกระนาด ลูกหมากปีกนกอาจจะมีปัญหา
● หากขับขี่ในทางตรง แต่รู้สึกว่าล้อไม่ตรง ไม่สามารถควบคุมให้รถนิ่ง ๆ ได้ หรือถ้าขับขี่ไปบนถนนขรุขระแล้ว สะท้านขึ้นมาจนถึงพวงมาลัย แสดงว่าลูกหมากแร๊คหรือว่ายางรัดแร๊คมีปัญหา ต้องรีบให้ช่างแก้ไขโดยด่วนทันที
● ขับขี่ไปบนถนนขรุขระ แล้วพวงมาลัยดึง และหลวม ๆ มีเสียงดังกุกกัก แสดงว่าลูกหมากคันชักก็อาจจะมีปัญหา
3. ตรวจเช็ค ล้อรถยนต์ ยางรถยนต์
ล้อและยางรถยนต์ เป็นอีกจุดที่สำคัญมากๆ เนื่องจากเป็นส่วนที่สัมผัสกับพื้นถนนโดยตรง และยังเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนหลักที่ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน อาทิ ยางระเบิดขณะขับขี่ เป็นต้น ซึ่งการเช็กส่วนล้อนั้นก็ควรเริ่มต้นสังเกตที่ตัวล้อว่า ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่คด ไม่เบี้ยว น็อตล้อยังขันแน่นอยู่ ขณะที่ส่วนยางรถยนต์ก็ต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ดี ไม่รั่ว ไม่ซึม ไม่แตกลายงา ไม่นูนหรือบวมจนผิดปกติเกินไป
4. ระบบเบรก ระดับน้ำมันเบรก
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบเบรค เป็นอีกหนึ่งระบบสำคัญมากของตัวรถ อีกทั้งยังรักษาชีวิตของผู้โดยสารได้ในเวลาฉุนเฉิน เพราะฉะนั้น ระบบเบรคจึงต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยผ้าเบรกจะต้องไม่บางเกินไป ความหนาของเนื้อผ้าเบรกรวม Backing Plate (แผ่นเหล็กประกบหลังผ้าเบรก) ไม่น้อยกว่า 7 มม. นอกจากนั้น จานเบรกต้องไม่คด ไม่สั่นจนเกินไป
อีกหนึ่งจุดที่สำคัญ ก็คือ การตรวจเช็คปริมาณน้ำมันเบรก ซึ่งจะแตกต่างจากการตรวจเช็กของเหลวอื่น ๆ ในระบบ เนื่องจากระบบน้ำมันเบรกเป็นระบบปิด น้ำมันเบรกก็จะอยู่ภายในระบบโดยไม่มีการระเหยออกหรือถูกใช้ไปเหมือนของเหลวอื่นๆ อย่างน้ำมันเชื้อเพลิง หรือว่าน้ำยาเช็ดกระจก ดังนั้น ถ้าปริมาณน้ำมันเบรกลดลง อาจจะมีสาเหตุ ที่เกิดมาจากผ้าเบรกสึก หรือมีจุดที่ระบบเบรกรั่วที่ต้องตรวจสอบและซ่อมแซมโดยด่วน
จุดสำคัญที่ควรตรวจเช็กระบบเบรก
● น้ำมันเบรก จะต้องอยู่ระดับ Full สีใส ไม่ดำคล้ำ
● หม้อลมเบรกหลังกระปุกน้ำมันเบรก ต้องอยู่ในสภาพดี
● ชุดระบบเบรค ABS สายน้ำมันเบรก ควรอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน
● จานเบรก ควรมีรอยสึกที่เสมอกันทั่วทั้งวง และขนาดไม่บางเกินไป
● แนวร่องกลางผ้าเบรก ควรต้องมีความลึกที่เหมาะสม
● ชุดคาลิเพอร์เบรคประกบผ้าเบรคกับจานเบรคไว้ให้ได้แนบสนิท
● ระยะเบรกจากแป้นเบรก จะต้องมีความลึกแบบพอดีๆ
5. น้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่อง ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นของระบบกลไกต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์ ประสิทธิภาพของน้ำมันเครื่องที่ดี นั้นจะต้องผ่านการใช้งานไม่เกินระยะทางที่คู่มือกำหนด ระดับน้ำมันเครื่องก็จะต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม และขณะเดินทางนั้นก็ควรจะมีน้ำมันเครื่องสำรองติดรถไว้อย่างน้อย 1 ลิตรในยามฉุกเฉิน โดยคุณสามารถตรวจเช็กได้จากก้านวัดน้ำมันเครื่องตามขั้นตอนดังนี้
วิธีการตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง
● ต้องจอดรถให้อยู่ในแนวระนาบไม่ลาดเอียง ก่อนเปิดฝากระโปรงรถยนต์ให้เรียบร้อย
● ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมา และควรเช็ดทำความสะอาดน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัด
● เสียบก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องคืน เพื่อดูระดับน้ำมันเครื่องที่มีอยู่ในอ่างน้ำมัน
● ดึงก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมาอีกครั้ง พร้อม ๆ ตรวจสอบระดับน้ำมันที่ปลายก้านวัด
● ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีด “F” กับ “L” หรือ “Max กับ Min” ถือว่าปกติ
6. หม้อน้ำและระบบระบายความร้อน
ระบบระบายความร้อน ถือเป็นอีกหนึ่งระบบที่ถือเป็นหัวใจหลักของเครื่องยนต์ เพราะว่า ขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน จะเกิดความร้อนสะสมขึ้น บวกกับความร้อนจากภายนอก ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องยนต์น็อค หากระบบระบายความร้อนมีปัญหา โดยจุดที่จำเป็นมากเลย ที่ต้องตรวจเช็กในระบบระบายความร้อนประกอบไปด้วยปริมาณน้ำยาหล่อเย็นในหม้อน้ำ นั้นควรอยู่ในระดับปกติ จุดต่าง ๆ ตามหม้อน้ำ ท่อยาง และข้อต่อระบบหล่อเย็นว่า ไม่มีรอยรั่วซึม รวมไปถึงการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ และมอเตอร์ว่า สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญ คุณควรเปลี่ยนน้ำยาหม้อน้ำทุก ๆ 2 ปีเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของน้ำยานั่นเอง
ทั้งหมดนี้เอง ก็เป็นขั้นตอนเบื้องต้น สำหรับการ ตรวจเช็กสภาพรถ ก่อนเดินทางไกล เพราะว่า รถยนต์ก็ต้องการการดูแลใส่ใจ และอาจมีจุดเสื่อมสภาพที่เราไม่คาดคิดได้ ดังนั้น การหมั่นตรวจสภาพรถเป็นประจำโดยเฉพาะช่วงก่อนเดินทางไกลจะช่วยให้เราสามารถรีบแก้ไขความผิดปกติได้อย่างทันท่วงที เพื่อความปลอดภัยของคุณ และผู้คนอื่น ๆ ที่ร่วมใช้ท้องถนนในระหว่างเดินทางนั่นเอง
อ่านบทความเพิ่มเติม